บันทึกเหตุการณ์บ้านเมือง ในช่วงที่ดาวมฤตยูเข้าในราศีเมษ ครั้งก่อนๆ ที่ผ่านมา
โดย การะเกต์ ศรีปริญญาศิลป์
(บทความนี้ เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2559 ลงในเพจการะเกต์พยากรณ์)
บันทึกนี้ นำข้อมูลมาจากวิกิพิเดีย สารานุกรมเสรี โดยนำเอาเหตุการณ์เรื่องราวสำคัญ ในแต่ละรอบที่ดาวมฤตยูเข้ามาในราศีเมษ และทำระยะเชิงมุมสำคัญกับดวงเมือง เพื่อให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้สนใจโหราศาสตร์ และผู้ที่ต้องการจะสืบค้นต่อ หรือพิจารณาดูเหตุการณ์ที่จะเกิดต่อไปภายภาคหน้า
รอบที่ 1 (251 ปี ที่แล้ว) ดาวมฤตยูย้ายเข้าราศีเมษ ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2308 (1765) เวลา 09.43 น. อยู่ถึงปี พ.ศ 2315 (ย้ายเข้าราศีพฤษภ วันที่ 25 พฤษภาคม)
เหตุการณ์สำคัญระหว่างปี 2308-2315
พ.ศ. 2308
4 มกราคม – สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ครั้งยังเป็นพระยาวชิรปราการ ได้สู้รบกับทหารม้าพม่า ที่ไล่ติดตามขณะหลบหนีออกจากกรุงศรีอยุธยา ณ บ้านพรานนก (อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา) ได้ชัยชนะอย่างงดงาม เหล่าทหารม้าของไทยจึงกำหนดให้ วันที่ 4 มกราคมของทุกปีเป็น วันทหารม้า[ต้องการอ้างอิง]
23 มิถุนายน – พม่าตีค่ายบางระจันแตก
พ.ศ 2310
7 เมษายน – การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง: กรุงศรีอยุธยาเสียแก่กองทัพพม่า
เมษายน (ไม่ทราบวัน) สิ้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรอยุธยา
7 พฤศจิกายน – พระยาวชิรปราการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า
28 ธันวาคม – พระยาวชิรปราการประกอบพิธีปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เฉลิมพระนามใหม่ว่า สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 แล้วสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี
พ.ศ. 2311
เดือนตุลาคม สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) เมืองพิษณุโลก หัวเมืองเหนือ แต่ไม่สำเร็จ เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ได้ยกทัพไปตีชุมนุมเจ้าพระฝาง (เรือน) ต่อมาชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ก็ถูกรวมกับชุมนุมเจ้าพระฝางในที่สุดหลังจากจากเจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง) ราชาภิเษกตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์และเสด็จสวรรคตในเวลาเพียง 7 วัน
เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าเมืองพิษณุโลก เสด็จสวรรคตหลังจากราชาภิเษกตนเป็นพระมหากษัตริย์ได้เพียง 7 วัน
รอบที่ 2 (167 ปีที่แล้ว) ดาวมฤตยูย้ายเข้าราศีเมษ ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2392 (1849) เวลา 11.08 น. อยู่ถึงปี 2399 (1856) ย้ายเข้าราศีพฤษภ วันที่ 14 ธันวาคม 2399
เหตุการณ์สำคัญระหว่างปี 2392-2399
พ.ศ. 2392
มีอหิวาตกโรคระบาดทั่วพระนครอีกครั้ง หลังจากในปี พ.ศ. 2363 ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนี้ ถูกเรียกว่า ห่าปีระกา หนึ่งในผู้เสียชีวิตมี เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รวมอยู่ด้วย
พ.ศ. 2393
1 พฤษภาคม ประเทศไทยเสียดินแดนครั้งที่ 6 หรือ เมืองสิบสองปันนาให้กับจีน (อาณาจักรต้าชิง) ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔)
พ.ศ. 2394
2 เมษายน – พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคต พระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ กราบบังคมทูลอัญเชิญพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ให้ลาสิกขาบทเพื่อขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ
6 เมษายน – รัชกาลที่ 4 ทรงลาผนวชเพื่อขึ้นครองราชสมบัติ
15 พฤษภาคม – พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันนี้เป็นวันวิสาขบูชาด้วย
25 พฤษภาคม – พระราชพิธีราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
22 กันยายน – รัชกาลที่ 4 ทรงออกประกาศห้ามไม่ให้ผู้ชายบวชเณรหรือเถรระหว่างอายุ 24 – 70 ปี ให้บวชเป็นพระภิกษุเท่านั้น
พ.ศ. 2395
5 พฤษภาคม – งานถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 3
19 กุมภาพันธ์ – ส่งคณะสงฆ์สยามไปศรีลังกาในสมัยรัชกาลที่ 4
พ.ศ. 2398
12 เมษายน – เริ่มใช้เพลง God Save The Queen เป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีในสยาม
16 เมษายน – เซอร์ จอห์น บาวริง เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 4 อย่างเป็นทางการวันนี้
18 เมษายน– มีการลงนามสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีระหว่างสยามกับอังกฤษ
26 มิถุนายน – ตั้งชื่อบางนางรมย์เป็นประจวบคีรีขันธ์ และเกาะกงเป็นปัจจันตคีรีเขตในวันนี้
9 พฤศจิกายน – สร้างเรือกลไฟลำแรกของสยามชื่อสยามอรสุมพล
รอบที่ 3 (83 ปีที่แล้ว) ดาวมฤตยูย้ายเข้าราศีเมษ ในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2475 (1932) เวลา 04.11 น. อยู่ถึงปี 2482(1939) ย้ายเข้าราศีพฤษภ 31 พฤษภาคม 2482
เหตุการณ์สำคัญระหว่างปี 2475-2482
พ.ศ. 2475
6 เมษายน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชปรารภที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ แต่คณะอภิรัฐมนตรีกับพระบรมวงศานุวงศ์คัดค้านเห็นว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควร
12 มิถุนายน – การปฏิวัติสยาม: คณะราษฎรประชุมวางแผนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
24 มิถุนายน – การปฏิวัติสยาม: คณะราษฎรดำเนินการปฏิวัติยึดอำนาจจากกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตย
27 มิถุนายน – การปฏิวัติสยาม: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เรียกชื่อว่า พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
28 มิถุนายน – การปฏิวัติสยาม: มีการประชุมคณะราษฎรครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ที่ประชุมมีมติแต่งตั้งพระยามโนปกรณ์นิติธาดา ให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการราษฎร ถือได้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
25 สิงหาคม – การปฏิวัติสยาม: คณะราษฎรจดทะเบียนจัดตั้ง สมาคมคณะราษฎร อาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย
9 ธันวาคม – การปฏิวัติสยาม: พระยามโนปกรณ์นิติธาดาลาออกจากตำแหน่ง ประธานกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี)
10 ธันวาคม การปฏิวัติสยาม: พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 แก่คณะราษฎร พระยามโนปกรณ์นิติธาดากลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2476
20 มิถุนายน – รัฐประหารครั้งแรกในประเทศไทย นำโดยพลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจการปกครองของนายกรัฐมนตรี พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
11 ตุลาคม – กบฏบวรเดช
พ.ศ. 2477
2 มีนาคม – พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
27 มิถุนายน – วันก่อตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ภายหลังเรียก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
พ.ศ. 2482
3 มิถุนายน – เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ถึงแก่พิราลัย และเป็นอันสิ้นสุดลงของตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร (เจ้าประเทศราช) แห่งนครเชียงใหม่
24 มิถุนายน – รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ประกาศใช้รัฐนิยมฉบับที่ 1 อันมีสาระเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย
10 ธันวาคม รัฐบาลประกาศใช้เพลงชาติไทยฉบับปัจจุบัน
ไม่ทราบวัน : มีการรวม จังหวัดธนบุรี กับ จังหวัดพระนคร เป็น กรุงเทพมหานคร
รอบที่ 4 ดาวมฤตยู จะยกเข้าในราศีเมษ วันที่ 27 มิถุนายน 2559 แต่จะพักร์ หรือเดินถอยหลังจนกลับมาอยู่ในราศีมีนอีกในวันที่ 31 สิงหาคม 2559
♅ ดาวมฤตยู จะยกเข้าสู่ราศีเมษจริงๆ อีกครั้ง ในวันที่ 8 เมษายน 2560